ทองคําโลกปรับฐานรอเศรษฐกิจสหรัฐ ทองไทยบาทอ่อนค่าหนุนปรับขึ้น
โดย
ราคาทองคํา Spot ยังคงได้รับแรงกดดันภายหลังจากสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ผ่อนคลายลง ขณะที่ตลาดกลับมาให้ความสำคัญกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่วนทองคำในประเทศเปิดตลาดเงินบาทอ่อนค่ามากหนุนปรับตัวขึ้น
ราคาทองคำกำลังเข้าสู่ภาวะปรับฐาน เนื่องจากความขัดแย้งในตะวันออกกลางเริ่มคลี่คลายลง โดยทั้งนี้ตลาดได้กลับไปให้ความสำคัญกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐและท่าทีของเฟด ซึ่งหากข้อมูลเศรษฐกิจโดยเฉพาะตัวเลขเงินเฟ้อที่จะเปิดเผยในคืนวันศุกร์ปรับตัวสูงขึ้น ก็เป็นเรื่องยากที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลเป็นปัจจัยกดดต่อทองคำร่วงหนัก
รายงานเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐในคืนวันนี้ ติดตามการเปิดเผยตัวเลขจีดีพีประจำไตรมาสที่ 1/2024 ซึ่งเป็นประมาณการครั้งแรกตัวเลขคาดการณ์จะเพิ่มขึ้น 2.5% หลังจากไตรมาส 4/2023 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.4% จำนวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ตัวเลขคาดการณ์จะเพิ่มขึ้น 3,000 ราย สู่บริเวณ 215,000 ราย และยอดขายบ้านที่รอการปิดการขายประจำเดือนมี.ค. ตัวเลขคาดการณ์จะเพิ่มขึ้น 0.9% จากเดือนก.พ. ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.6%
ประกาศราคาทองในประเทศประจำวันวันพฤหัสบดีเปิดตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 200 บาท หลังจากเมื่อวานปรับตัวเพิ่มขึ้น 250 บาท ทั้งนี้ทองคำในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากได้รับแรงหนุนจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในเช้านี้แตะบริเวณ 37.10 บาท
แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหนุนทองคําตลาดโลกและไทยปรับตัวขึ้นแรง
ทองคําพุ่งแรงรับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยจากความกังวลภาษีสหรัฐ
กังวลผลกระทบภาษีสหรัฐหนุนแรงซื้อทองคํา ทองไทยเงินบาทอ่อนหนุน
แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยจากความกังวลหนี้สหรัฐหนุนทองคําฟื้น
ดอลลาร์แข็ง-พันธบัตรพุ่ง หวังเจรจาการค้าลุล่วงฉุดทองคําลดลง
กังวลภาษีศุลกากรสหรัฐหนุนแรงซื้อทองคําตลาดโลก-ไทยพุ่งขึ้น
ทองคําตลาดโลกร่วงแรง ทองไทยถูกเงินบาทแข็งค่ากดดันร่วงแรงตาม
ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ
96.5% | รับซื้อ | ขายออก |
---|---|---|
ทองคำแท่ง | 51,550.00 | 51,650.00 |
ทองรูปพรรณ | 50,513.12 | 52,450.00 |
วันนี้ 200 | 50 | |
14 กรกฎาคม 2568 | เวลา 17:01 น. | (ครั้งที่ 8) |
เรื่องที่เกี่ยวข้อง: ข่าวค่าเงิน, ข่าวราคาทองคำ, ข่าวเศรษฐกิจ, วิเคราะห์ทอง, วิเคราะห์ทองวันนี้, แนวโน้มราคาทอง
เขียนความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของคุณ