สัปดาห์หน้า(จันทร์ที่27-ศุกร์ที่31 พ.ค.56) ติดตามดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีน
โดยราคาทองในช่วงต้นสัปดาห์(จันทร์ที่ 20-พฤหัสบดีที่ 23พ.ค.56) ปรับตัวลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน(จันทร์ที่ 13-พฤหัสบดีที่ 17พ.ค.56) โดยเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกันยาวนานถึง 7 วัน จนทำให้ราคาทองลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 1,338 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ก็มีแรงซื้อกลับเข้ามา จนทำให้ราคาทองคำขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ 1,400 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเพื่อชดเชยการทำชอร์ตเซล
นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงจากมีแรงเทขายตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังจากปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงติดต่อกัน อย่างไรก็ดีสัปดาห์นี้(จันทร์ที่ 20-พฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2556)เม็ดเงินยังไหลออกจากกองทุนรวมอีทีเอฟทองคำ สำหรับการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันพุธ มีผลทางบวกต่อตลาดหุ้น เนื่องจากธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงนโยบายผ่อนคลายการเงิน โดยตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่เดิม 0-0.10% และจะเพิ่มฐานเงินที่อัตรา 60-70 ล้านล้านเยนต่อปี พร้อมปรับเพิ่มการประเมินเศรษฐกิจญี่ปุ่น ในช่วงปลายสัปดาห์ราคาทองคำปรับตัวลงจากความกังวลที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยุติมาตรการ QE ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แถลงต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจร่วมของสภาคองเกรสว่า การคุมเข้มนโยบายการเงินเร็วกว่ากำหนด จะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญกับความเสี่ยงที่จะชะลอตัวลง หรืออาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุติลงด้วย
อย่างไรก็ตาม ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวว่า การลดขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์อาจจะมีขึ้นในการประชุมในอีกไม่กี่ครั้งข้างหน้า ซึ่งจะขึ้นอยู่กับตัวเลขด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภค การใช้จ่ายของภาคเอกชน และตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงได้รับผลกระทบจากอัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูง และมาตรการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ดังนั้น การขึ้นดอกเบี้ย หรือลดการซื้อสินทรัพย์เร็วเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ส่วนสัปดาห์หน้า(จันทร์ที่ 27-ศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2556) ไม่ค่อยมีประเด็นที่กระทบต่อตลาดทองคำมากนัก ประเด็นที่สำคัญคือ การประกาศจีดีพีไตรมาส 1 ของสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดี(พฤหัสบดีที่ 30 พ.ค. 56) ที่เป็นประมาณการครั้งที่ 2 คาดว่าไม่น่าจะแตกต่างจากการประกาศครั้งแรกมากนัก นอกจากนี้ จะมีการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีน ที่ประกาศสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน ที่จะประกาศออกมาในช่วงปลายสัปดาห์ ถ้าออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ จะส่งผลลบต่อราคาทอง แต่ถ้าตรงกันข้ามออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ จะส่งผลบวกต่อราคาทอง เนื่องจากจีนเป็นประเทศบริโภคทองคำรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก
ทั้งนี้ แนวโน้มราคาทองคำในสัปดาห์หน้า(จันทร์ที่ 27-ศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2556) คาดแกว่งตัวในกรอบแคบลง โดยคาดว่าทองคำยังคงเผชิญแนวต้านแข็งแกร่งที่ 1,400 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยคาดว่าทองคำยังขาดปัจจัยบวกสนับสนุนให้ราคาทองสามารถทะลุแนวต้านดังกล่าว แต่ถ้าทะลุผ่านแนวต้านดังกล่าวขึ้นไปได้ จะมีแนวต้านถัดไปอยู่ที่บริเวณ 1,420 และ 1,440 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามลำดับ ขณะที่แนวรับของทองคำอยู่ที่ 1,340 และ 1,320 ดอลลาร์ต่อออนซ์ตามลำดับ.
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
ทองคำโลกเคลื่อนไหวในกรอบทางเทคนิค ทองไทยบาทแข็งค่ามากกดดัน
ดอลลาร์อ่อน-พันธบัตรร่วงหนุนทองคําโลก ทองไทยถูกบาทแข็งกดดัน
ทองคําเคลื่อนไหวแคบ จับตาจ้างงานสหรัฐเพื่อประเมินดอกเบี้ยเฟด
ดอลลาร์แข็งค่าฉุดทองคําโลกร่วง ทองคำในประเทศจ่อหลุด 43,000
ดอลลาร์อ่อน-แรงซื้อหนุนทองคํา สัปดาห์หน้าจับตาจ้างงานสหรัฐ
แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหนุนทองคําโลก ทองไทยบาทแข็งกดดันร่วง
คาดเฟดชะลอปรับลดดอกเบี้ยฉุดทองคําโลกลดลง ทองไทยร่วงหนักตาม
ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ
96.5% | รับซื้อ | ขายออก |
---|---|---|
ทองคำแท่ง | 42,700.00 | 42,800.00 |
ทองรูปพรรณ | 41,932.56 | 43,300.00 |
วันนี้ -150 | -50 | |
05 ธันวาคม 2567 | เวลา 15:13 น. | (ครั้งที่ 6) |
เรื่องที่เกี่ยวข้อง: ข่าวราคาทองคำ, ข่าวเศรษฐกิจ, วิเคราะห์ทอง, แนวโน้มราคาทอง