สัปดาห์หน้า(13-17 พ.ค.56)ทองคำมีแนวรับสำคัญที่ 1,440 ดอลลาร์ต่อออนซ์
โดย
สัปดาห์นี้(จันทร์ที่ 6-ศุกร์ที่ 10 พ.ค.56) ราคาทองเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1,440-1,480 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ประเด็นบวกต่อราคาทองคำสัปดาห์นี้มาจากคำแถลงของ มาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป ซึ่งมีการแถลงว่าจะผ่อนคลายมาตรการทางการเงินเพิ่มเติม ทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตและการออกมาตรการเพิ่มเติม ถ้าเศรษฐกิจของยูโรโซนยังอยู่ในภาวะถดถอย
สำหรับตัวเลขดุลการค้าเดือนเมษายน ของจีน ที่ออกมาเกินดุลมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เป็นประเด็นบวกต่อราคาทองคำเช่นกัน เนื่องจากแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มขยายตัวโดยได้รับปัจจัยหนุนจากการส่งออกที่ขยายตัว
ส่วนการประชุมธนาคารกลางอังกฤษมีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.50% และคงขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือมาตรการ QE วงเงิน 3.75 แสนล้านปอนด์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยธนาคารกลางอังกฤษได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 0.50% เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ทำให้การประชุมธนาคารกลางอังกฤษไม่มีผลต่อราคาทองคำ
อย่างไรก็ดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ปรับตัวลง 4,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 323,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์คาดว่า จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 335,000 ราย ซึ่งจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานปรับตัวลดลงติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น กดดันต่อราคาทองคำในช่วงปลายสัปดาห์ โดยนักลงทุนเริ่มกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีการถอนมาตรการ QE
สัปดาห์หน้า(จันทร์ที่ 13-ศุกร์ที่ 17 พ.ค.56)มีการประชุมกลุ่มอียูและการประชุม รมว.คลัง ยูโรโซนในวันจันทร์และวันอังคาร คาดว่าประเด็นหารือน่าจะเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติหนี้ในยูโรโซน ซึ่งถ้ามีแนวทางร่วมกันในการเน้นนโยบายเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ แทนที่จะใช้มาตรการรัดเข็มขัดเหมือนในช่วงที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าจะส่งผลบวกต่อราคาทองคำ อย่างไรก็ดี ถ้าไม่มีการออกมาตรการเพิ่มเติมปัญหาวิกฤติหนี้ในยูโรโซน หรือนโยบายร่วมกันในการเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คาดว่าไม่มีนัยสำคัญต่อราคาทองคำ โดยการประกาศตัวเลขจีดีพีของยูโรโซนไตรมาส 1 ในวันพุธ ที่คาดว่าจะยังหดตัวลง หลังจากที่ไตรมาส 4 หดตัวลง 0.6% คาดว่าจะส่งผลลบต่อราคาทองคำ
ทางด้านสหรัฐฯ จะมีการเปิดเผยตัวเลขภาคอสังหาริมทรัพย์และอัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายน ตัวเลขภาคอสังหาริมทรัพย์ประกอบด้วยการอนุญาตก่อสร้างและการเริ่มสร้างบ้านใหม่ ตัวเลขภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไร้ทิศทาง โดยการอนุญาตก่อสร้าง คาดว่าจะเพิ่มขึ้น แต่การเริ่มสร้างบ้านใหม่ คาดว่าจะลดลง ส่วนภาพการเคลื่อนไหวของราคาทองคำต้องระวังแรงขายที่คาดว่าจะมีกลับออกมามาก หากราคาทองไม่สามารถยืนเหนือแนวรับบริเวณ 1,440 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และจะเป็นสัญญาณขายกดดันให้ราคาทองคำอ่อนตัวลงสู่แนวรับบริเวณ 1,400 ดอลลาร์ต่อออนซ์ต่อไป ขณะที่มีแนวต้านที่ 1,470 และ1,480 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามลำดับ.
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
ทองคําพุ่งแรงรับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยจากความกังวลภาษีสหรัฐ
กังวลผลกระทบภาษีสหรัฐหนุนแรงซื้อทองคํา ทองไทยเงินบาทอ่อนหนุน
แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยจากความกังวลหนี้สหรัฐหนุนทองคําฟื้น
ดอลลาร์แข็ง-พันธบัตรพุ่ง หวังเจรจาการค้าลุล่วงฉุดทองคําลดลง
กังวลภาษีศุลกากรสหรัฐหนุนแรงซื้อทองคําตลาดโลก-ไทยพุ่งขึ้น
ทองคําตลาดโลกร่วงแรง ทองไทยถูกเงินบาทแข็งค่ากดดันร่วงแรงตาม
ทองคําเคลื่อนไหวแคบ สัปดาห์หน้าจับตาครบกำหนดเจรจาภาษีสหรัฐ
ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ
96.5% | รับซื้อ | ขายออก |
---|---|---|
ทองคำแท่ง | 51,350.00 | 51,450.00 |
ทองรูปพรรณ | 50,316.04 | 52,250.00 |
วันนี้ 100 | 100 | |
12 กรกฎาคม 2568 | เวลา 09:12 น. | (ครั้งที่ 1) |
เรื่องที่เกี่ยวข้อง: ข่าวราคาทองคำ, ข่าวเศรษฐกิจ, วิเคราะห์ทอง, แนวโน้มราคาทอง