บาทแข็งพ่นพิษ ทำขาดดุลเดือนม.ค. สูงสุดเป็นประวัติการณ์
โดยพาณิชย์ เผย เดือน ม.ค.มูลค่าส่งออกโต 16% ทะลุ 1.8 หมื่นล้านเหรียญฯ แต่นำเข้าโตกว่าถึง 40% ทำขาดดุลการค้าสูงสุดกว่า 5 พันล้านเหรียญฯในเดือนเดียว เหตุนำเข้าเครื่องบิน-ทองคำ และอานิสงส์เงินบาทแข็ง เร่งผู้ประกอบการนำเข้าเพิ่ม
เมื่อวันที่ 27 ก.พ. นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทยว่า ในเดือนม.ค.56 มีมูลค่าการส่งออก 18,269 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 16.09% นำเข้ามูลค่า 23,755.8 ล้านเหรียญฯ ขยายตัว 40.87% ส่งผลให้ขาดดุลการค้ามากถึง 5,486.8 ล้านเหรียญฯ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะมีการนำเข้าเครื่องบินของบริษัท การบินไทย ที่มีมูลค่าถึง 600 ล้านเหรียญฯ และการนำเข้าทองคำที่มีมูลค่า 2,700 ล้านเหรียญฯ แต่หากหักลบทั้ง 2 รายการออกไปแล้ว การขาดดุลการค้าไทยจะเหลือเพียง 2,150 ล้านเหรียญฯ ซึ่งไม่ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบ และกึ่งวัตถุดิบ เพื่อนำมาผลิตสินค้าและส่งออกต่อ อีกทั้งการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า น่าจะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการเร่งนำเข้ามากขึ้นด้วย
“มูลค่าการส่งออกเดือนม.ค.56 ที่กว่า 18,000 ล้านเหรียญฯนั้น สูงกว่าเดือนม.ค.55 แสดงว่าแนวโน้มการส่งออกของไทยกำลังขึ้น คาดว่า ไตรมาสแรกปีนี้จะขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ทั้งปีนี้ น่าจะขยายตัวได้ตามเป้าหมาย 8-9% มูลค่า 247,000-250,000 ล้านเหรียญฯ” นางวัชรี กล่าว
สำหรับการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มขึ้นของหมวดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร 7.2% โดยสินค้าข้าว เพิ่ม 31.3% มันสำปะหลัง 26.5% อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป 17.1% แต่ยางพาราลดลง 2.7% น้ำตาลลดลง 36.6% ขณะที่หมวดสินค้า อุตสาหกรรมสำคัญ เพิ่ม 20.9% เป็นการเพิ่มขึ้นของอิเล็กทรอนิกส์ 20.8% เครื่องใช้ไฟฟ้า 20.5% ยานยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 40.3% เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก 22.8% สิ่งทอ 12.8% วัสดุก่อสร้าง 103%
นางวัชรี กล่าวต่อว่า มูลค่าการนำเข้าเดือนม.ค. เพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า ได้แก่ หมวดเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 61% มูลค่า 3,993.5 ล้านเหรียญฯ แบ่งเป็นน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 42.4% มูลค่า 2,744.2 ล้านเหรียญฯ น้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น 135.1% มูลค่า 384.2 ล้านเหรียญฯ ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น 190.6% มูลค่า 652.8 ล้านเหรียญฯ หมวดสินค้าทุนเพิ่มขึ้น 36.4% ส่วนหมวดวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น 37.4% หมวดอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น 22.7% และหมวดยานพาหนะกับอุปกรณ์การขนส่งเพิ่มขึ้น 70.3%
ขณะที่ตลาดส่งออกพบว่า ตลาดหลักขยายตัว 15.5% โดยญี่ปุ่นขยายตัว 7.3% สหรัฐฯ 16.7% สภาพยุโรปเดิม 15 ประเทศ 24.5% ตลาดศักยภาพสูงขยายตัว 22.2% โดยอาเซียน (9) 18% จีน 19.4% เอเชียใต้ 7.9% เฉพาะอินเดียขยายตัว 5.9% ฮ่องกง
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
แรงซื้อเก็งกำไรหนุนทองคําดีดตัวขึ้น-จับตาคืบหน้าเจราการค้า
จันทร์เช้าทองคําตลาดโลกร่วงแรงหลุด 3,300$ ส่งทองไทยลงแรงตาม
ดอลลาร์แข็งค่า-คลายกังวลสงครามการค้าสหรัฐและจีนฉุดทองคําลดลง
ดอลลาร์อ่อน-แรงซื้อเก็งกำไรหนุนทองคําหลังจากร่วงหนักก่อนหน้า
ดอลลาร์อ่อน-แรงซื้อทางเทคนิคหนุนทองฟื้นหลังเมื่อวานร่วงหนัก
ดอลลาร์แข็งค่า-คลายความกังวลต่อสงครามการค้าฉุดทองคําดิ่งหนัก
ดอลลาร์อ่อนค่า-แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหนุนทองคําพุ่งนิวไฮแรง
ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ
96.5% | รับซื้อ | ขายออก |
---|---|---|
ทองคำแท่ง | 52,200.00 | 52,300.00 |
ทองรูปพรรณ | 51,255.96 | 53,100.00 |
วันนี้ -400 | 50 | |
28 เมษายน 2568 | เวลา 17:18 น. | (ครั้งที่ 14) |
เรื่องที่เกี่ยวข้อง: ข่าวเศรษฐกิจ