ศูนย์วิจัยทองคำ คาดราคาทองเดือน พ.ค. ทรงตัว
โดยศูนย์วิจัยทองคำเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นเดือน พ.ค. 2556 ระดับความเชื่อมั่นลดลงมาอยู่ที่ 45.50 จุด ผู้ค้าเชื่อราคาทองในประเทศใกล้เคียงราคาเฉลี่ยเดือน เม.ย. เหตุแรงซื้อเริ่มลด กองทุนขนาดใหญ่ยังขายต่อเนื่อง ขณะค่าเงินบาทผันผวน…
เมื่อวันพุธที่ 8 พ.ค. 56 นายภูษิต วงศ์หล่อสายชล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำ (Gold Price Sentiment Index) ประจำเดือน พ.ค. มีค่าเท่ากับ 45.50 จุด จากเดือน เม.ย. ที่ระดับ 52.84 จุด ซึ่งสะท้อนมุมมองเชิงลบ หลังจากราคาทองคำปรับตัวลงแรงช่วงเดือน เม.ย. แต่เป็นที่น่าสังเกตคือ กลุ่มนักลงทุนกลับมีทัศนคติเชิงลบ โดยมีค่าความเชื่อมั่นเฉพาะกลุ่มนักลงทุนอยุ่ที่ 43.54 จุด ขณะที่กลุ่มผู้ค้าที่มองว่าอาจจะฟื้นตัวได้ระยะสั้น โดยมีค่าดัชนีเฉพาะกลุ่มผู้ค้าที่ 57.52 จุด ซึ่งค่าเงินบาทยังคงเป็นปัจจัยหลัก ที่ส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ รวมถึงวิกฤติหนี้ยุโรป การเก็งกำไร และทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็ยังคงเป็นปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ทั้งกลุ่มผู้ลงทุนและกลุ่มผู้ค้าทองคำมีทัศนคติไปในทิศทางเดียวกัน โดยยังมั่นใจว่าราคาทองคำจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ระดับความเชื่อมั่นลดลงจากการสำรวจในช่วงเดือน เม.ย. จากระดับ 65.06 จุด มาที่ระดับ 56.72 จุด ในเดือน พ.ค. สะท้อนความไม่แน่ใจในการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในประเทศ ซึ่งเป็นการลดลง 2 เดือนติดต่อกัน ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่ามีกระทบราคาทองคำในช่วง 3 เดือนข้างหน้า คือการเก็งกำไรค่าเงินบาท และวิกฤติหนี้ยุโรป
นายกมลธัญ พรไพศาลวิจิต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ กล่าวถึงการจัดทำบทสรุปความคิดเห็นผู้ค้าทองคำ(Gold Trader Consensus) ว่า เดือน พ.ค. กลุ่มผู้ค้ามองราคาเคลื่อนไหวใกล้เคียงเดือน เม.ย. โดยกรอบสูงสุดที่กลุ่มตัวอย่างคาดไว้ระหว่าง 1,480-1,560 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ โดยส่วนใหญ่เชื่อสูงสุดอยู่บริเวณ 1,480-1,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์ กรอบการเคลื่อนไหวต่ำสุดให้น้ำหนักระหว่าง 1,300-1,440 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ด้านราคาทองคำแท่งในประเทศ (ความบริสุทธิ์ 95.50) กลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักราคาสูงสุดระหว่าง 20,500-21,900 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ โดยให้น้ำหนักการตอบอยู่ระหว่าง 20,900-21,100 บาทต่อหนึ่งบาททองคำจำนวน กรอบการเคลื่อนไหวต่ำสุดกลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักระหว่าง 18,900-20,500 บาทต่อหนึ่งบาททองคำ และจากภาวะตื่นทองหลังจากที่ทองคำอ่อนตัวช่วงหยุดยาว
ศูนย์วิจัยทองคำได้ศึกษาพฤติกรรมการซื้อขายทองคำในช่วงวันที่ 17-30 เม.ย. 2556 พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ลงทุนในทองคำมีการซื้อทองคำในสัดส่วนร้อยละ 40.48 มีการขายทองคำร้อยละ 1.79 ทั้งซื้อและขายในช่วงเวลาดังกล่าวร้อยละ 16.07 และไม่ได้ทำการซื้อขายร้อยละ 41.67 โดยเป็นการซื้อทองคำรูปพรรณร้อยละ 43.90 ทองคำแท่งร้อยละ 44.71 กองทุนทองคำและสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าในสัดส่วนร้อยละ 5.69 เท่ากันทั้งสองส่วน โดยมีวัตถุประสงค์ในการซื้อขายทองคำ ซื้อเพื่อการลงทุน ร้อยละ 38.46 ซื้อเพื่อเป็นเครื่องประดับร้อยละ 25.38 ซื้อเพื่อเฉลี่ยต้นทุนร้อยละ 17.69 ที่เหลือร้อยละ 18.46 เป็นการซื้อเพื่อเป็นสินสอดแต่งงาน ขายเพื่อจำกัดการขาดทุน และซื้อเพื่อเป็นของกำนัล จากข้อมูลดังกว่าสะท้อนพฤติกรรมการซื้อขายทองที่เปลี่ยนไปจากเดิมที่เน้นการซื้อขายทองคำแท่งเป็นหลัก กลับกลายเป็นการซื้อทองคำเพื่อการบริโภคมากขึ้น
ทางด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อขายทองคำ พบว่า นักลงทุนให้น้ำหนักกับการตัดสินใจของตัวเองเป็นอันดับแรก ขณะที่สื่อออนไลน์และสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อสำคัญประกอบการตัดสินใจ ส่วนความเห็นนักวิเคราะห์และกราฟทางเทคนิคให้ความสำคัญระดับปานกลาง ขณะเดียวกัน นักลงทุนในประเทศจำนวนมากยังมองทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยในการลงทุน.
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหนุนทองคําโลกพุ่งแรง ทองไทยขึ้นพรวด
วิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครนหนุนแรงซื้อทองคำ ทองไทยบาทแข็งกดดัน
วิกฤตสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนหนุนแรงซื้อทองคําโลกพุ่งแรง
จันทร์เช้าทองคําตลาดโลกดีดตัวขึ้นแรง ส่งผลทองไทยพุ่งแรงตาม
ดอลลาร์แข็งค่ารับคาดการณ์เฟดอาจชะลอลดดอกเบี้ยกดดันทองคําโลก
ดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง ขานรับทรัมป์ชนะเลือกตั้งกดดันทองคํา
ดอลลาร์แข็งค่า-พันธบัตรสหรัฐพุ่ง ฉุดทองคำโลกทองไทยร่วงลงหนัก
ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ
96.5% | รับซื้อ | ขายออก |
---|---|---|
ทองคำแท่ง | 43,600.00 | 43,700.00 |
ทองรูปพรรณ | 42,811.84 | 44,200.00 |
วันนี้ 600 | 50 | |
21 พฤศจิกายน 2567 | เวลา 15:38 น. | (ครั้งที่ 7) |
เรื่องที่เกี่ยวข้อง: ข่าวราคาทองคำ, ข่าวเศรษฐกิจ, วิเคราะห์ทอง, แนวโน้มราคาทอง