ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิด4ทางเลือกป้องบาท ลดผลกระทบศก.
โดยกสิกรไทยเปิด 4 ทางเลือกป้องบาท! ลดผลกระทบเศรษฐกิจ หลังวันนี้แข็งโป๊กในรอบ 16 ปี บอกทุก 1% สะเทือนจีดีพี 0.1-0.3%
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงาน สถานการณ์เงินบาทแข็งค่าปี 2556 … ประเมินทางเลือกของเครื่องมือ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างรวดเร็วทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี และสะท้อนภาพการแข็งค่าที่ฉีกตัวออกจากทิศทางในภาพรวมของสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย
การดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทด้วยเครื่องมือต่างๆ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการไทยคงต้องจัดลำดับความสำคัญของโจทย์เศรษฐกิจที่ต้องดูแล และเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ระดับเฉลี่ยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุกๆ 1% จะมีผลกระทบต่อจีดีพีปี 2556 ราว 0.1-0.3%
ณ ขณะนี้ คงต้องยอมรับว่า สถานการณ์ความเคลื่อนไหวของเงินบาทนับจากต้นปี 2556 เป็นไปในจังหวะที่ค่อนข้างรวดเร็ว และเป็นทิศทางที่แตกต่างไปจากหลายสกุลเงินในภูมิภาคเอเชีย โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นทดสอบระดับ 29.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ (ณ วันที่ 20 มีนาคม 2556) ซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าสุดในรอบเกือบ 16 ปี ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้ว 5% จากระดับ ณ ปลายปี 2555 ตอกย้ำภาพการแข็งค่าที่ฉีกตัวทิ้งห่างทุกสกุลเงินในเอเชีย
นักลงทุนต่างชาติมีสถานะซื้อสุทธิสะสมในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นไทย 2.59 แสนล้านบาท และ 6.54 พันล้านบาทแล้วนับจากต้นปี 2556 ตามลำดับ
สำหรับ 4 ทางเลือกในการบริหารดูแลค่าเงินบาท ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า
1.การลดส่วนต่างดอกเบี้ยไทยและต่างประเทศ ข้อดี อาจช่วยลดแรงจูงใจในการเพิ่มน้ำหนักลงทุนในตลาดการเงินไทย โดยเฉพาะตราสารหนี้ และช่วยให้ต้นทุนการดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินของธปท.ออกจากระบบเศรษฐกิจลดลง แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน คือ ไม่สามารถรับประกันได้อย่างเด็ดขาดว่าจะสามารถชะลอเงินทุนไหลเข้า และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงอาจเพิ่มความร้อนแรงของตลาดสินเชื่อภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นประเด็นความเสี่ยงด้านเสถียรภาพการเงินของประเทศในระยะข้างหน้า
2.การแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ข้อดี ชะลอทิศทางการแข็งค่าของค่าเงินบาทได้เป็นระยะ
ลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อให้ภาคธุรกิจมีเวลาในการปรับตัว ผู้เล่นในตลาดที่มีธุรกรรมขายเงินดอลลาร์ฯ อาจเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการเก็งกำไรจากการแข็งค่าของเงินบาท แต่ก็มีข้อเสีย อาจจะไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทได้ ขณะที่ ผลต่อตลาด/ค่าเงินอาจจะมีจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากธนาคารกลางประเทศชั้นนำของโลกยังคงจุดยืนผ่อนคลายทางการเงิน และปัจจัยพื้นฐานของเงินบาทไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ สถานะของงบดุลธปท. ที่บันทึกยอดขาดทุนในส่วนนี้ต่อเนื่อง
3.มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน เช่น มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น มาตรการภาษีที่เก็บจากกำไร-ดอกผลจากการลงทุน หรือมาตรการภาษีเงินทุนขาออก ข้อดีมีผลโดยตรงต่อกระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุน ลดแรงจูงใจในการเก็งกำไรจากการแข็งค่าของเงินบาท ข้อเสีย บิดเบือนกลไกตลาด เป็นการยากที่จะกำหนดระดับความเข้มงวดในการดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุน เพราะส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับผลทางจิตวิทยา
4.ปล่อยตามกลไกตลาด ข้อดี เป็นไปตามกลไกตลาดเสรี ซึ่งอาจช่วยเร่งให้การ Correction ของตลาดการเงินไทยเกิดขึ้นและสิ้นสุดเร็วขึ้น ธปท.ไม่มีภาระต่อเนื่อง ที่เกิดขึ้นจากการแทรกแซง และการดูแลระดับสภาพคล่อง ข้อเสีย ความผันผวนสูงในตลาดการเงิน เงินบาทที่แกว่งตัวมากอาจสร้างความเสียหายต่อภาคการส่งออกของไทย ที่เผชิญกับโจทย์การแข่งขัน และการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของความต้องการจากต่างประเทศ เศรษฐกิจไทยขาดแรงขับเคลื่อน และอาจชะลอตัวกว่าที่ตัวเลขที่ประมาณการไว้
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, ไทยรัฐออนไลน์
แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหนุนทองคําโลกพุ่งแรงทะลุระดับ 2,700$
แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหนุนทองคําพุ่งต่อ ทองไทยพุ่งแตะ44,000
แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหนุนทองคําโลกพุ่งแรง ทองไทยขึ้นพรวด
วิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครนหนุนแรงซื้อทองคำ ทองไทยบาทแข็งกดดัน
วิกฤตสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนหนุนแรงซื้อทองคําโลกพุ่งแรง
จันทร์เช้าทองคําตลาดโลกดีดตัวขึ้นแรง ส่งผลทองไทยพุ่งแรงตาม
ดอลลาร์แข็งค่ารับคาดการณ์เฟดอาจชะลอลดดอกเบี้ยกดดันทองคําโลก
ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ
96.5% | รับซื้อ | ขายออก |
---|---|---|
ทองคำแท่ง | 44,150.00 | 44,250.00 |
ทองรูปพรรณ | 43,357.60 | 44,750.00 |
วันนี้ 0 | 0 | |
23 พฤศจิกายน 2567 | เวลา 09:00 น. | (ครั้งที่ 1) |
เรื่องที่เกี่ยวข้อง: ข่าวค่าเงิน, ข่าวเศรษฐกิจ