จันทร์ที่ 24 มิถุนายน บาทเปิดตลาดที่ 31.10-31.13 ส่วนหุ้นไทย แนวโน้มยังผันผวน
โดยค่าเงินบาทเช้านี้(จันทร์ที่ 24 มิถุนายน 56) เปิดตลาดที่ 31.10-31.13 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงตามภูมิภาค คาดกรอบ 31.05-31.20 บาทต่อดอลลาร์
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ 31.10-31.13 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากที่ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์(21 มิถุนายน 56) ตามทิศทางของค่าเงินในภูมิภาคที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์ หลังสหรัฐส่งสัญญาณชะลอมาตรการ QE ในปีนี้ ประกอบกับตลาดหุ้นที่ร่วงลงในวันศุกร์ กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน
ปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ การซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้น หลังจากขายสุทธิต่อเนื่องกันมาหลายสัปดาห์ ขณะเดียวกันในสัปดาห์นี้อาจจะต้องติดตาม ประเด็น Window Dressing รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ด้วย
ส่วนแนวโน้มวันนี้ คาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.05-31.20 บาทต่อดอลลาร์
ภาวะตลาาดหุ้นไทยวันนี้ นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเชียพลัส กล่าวว่า คาดแนวโน้มเช้านี้ ยังผันผวนในกรอบแคบ แนะนำให้ติดตามปัญหาการเมืองในประเทศที่มีกลุ่มผู้คัดค้านหลายฝ่ายเตรียมออกมาชุมนุม ส่วนปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ แนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่ผันผวนและยังมีทิศทางที่ชะลอตัว
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำทยอยเก็บหุ้นเข้าพอร์ต 40% ของพอร์ต ส่วนนักลงทุนเก็งกำไรนั้น แนะนำให้ระมัดระวัง เนื่องจากตลาดมีความผันผวนสูง โดยประเมินแนวรับที่ 1,380 จุด และประเมินแนวต้านที่ 1,420 จุด
ที่มาโดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหนุนทองคําพุ่งต่อ ทองไทยพุ่งแตะ44,000
แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหนุนทองคําโลกพุ่งแรง ทองไทยขึ้นพรวด
วิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครนหนุนแรงซื้อทองคำ ทองไทยบาทแข็งกดดัน
วิกฤตสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนหนุนแรงซื้อทองคําโลกพุ่งแรง
จันทร์เช้าทองคําตลาดโลกดีดตัวขึ้นแรง ส่งผลทองไทยพุ่งแรงตาม
ดอลลาร์แข็งค่ารับคาดการณ์เฟดอาจชะลอลดดอกเบี้ยกดดันทองคําโลก
ดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง ขานรับทรัมป์ชนะเลือกตั้งกดดันทองคํา
ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ
96.5% | รับซื้อ | ขายออก |
---|---|---|
ทองคำแท่ง | 44,050.00 | 44,150.00 |
ทองรูปพรรณ | 43,251.48 | 44,650.00 |
วันนี้ 450 | -50 | |
22 พฤศจิกายน 2567 | เวลา 10:35 น. | (ครั้งที่ 8) |
เรื่องที่เกี่ยวข้อง: ข่าวค่าเงิน, ข่าวหุ้น, ข่าวเศรษฐกิจ