ดอลลาร์แข็งค่า-สัญญาณคืบหน้าทางการค้าฉุดทองคําร่วงต่อเนื่อง
โดย
ราคาทองคํา Spot ปรับตัวลงแรงต่อเนื่องจากปัจจัยกดดันสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าหลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ และแรงขายสินทรัพย์ปลอดภัยจากสัญญาณความคืบหน้าในการเจรจาการค้าสหรัฐและสหภาพยุโรป(อียู) ด้านทองในประเทศประกาศครั้งเดียววันเสาร์ปรับตัวลดลง 100 บาท
ราคาทองคำตลาดโลกปรับตัวลงแรงต่อเนื่องติดต่อกัน 3 วันทำการกว่า 100 ดอลลาร์ หลังจากทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 เดือนบริเวณ 3,431 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในวันพุธ และหลังจากนั้นก็ร่วงลงต่อเนื่องและปิดตลาดในคืนวันศกุร์บริเวณแถวๆ 3,335 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อทองคำร่วงหนักดังกล่าวมาจากสกุลเงินดอลลาร์ที่ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งเมื่อดอลลาร์แข็งค่าจะทำให้ทองคำมีราคาสูงขึ้นขาดแรงจูงใจในการเข้าซื้อ ประกอบทั้งแรงเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังสถานการณ์ความตึงเครียดทางด้านการค้าระหว่างสหรัฐและบรรดาประเทศคู่ค้ามีความคืบหน้า โดยสามารถบรรลุข้อตกลงการค้ากับญี่ปุ่น และมีแนวโน้มที่จะบรรลุข้อตกลงการค้ากับสหภาพยุโรป (อียู)
รายงานเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐในสัปดาห์หน้า(28 ก.ค.-1 ส.ค.) มีไฮไลท์เศรษฐกิจสำคัญให้ติดตามเข้มข้น ประกอบด้วย การประชุมคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน(FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ตัวเลขการจ้างงานประจำเดือนก.ค. โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร อัตราว่างงาน และรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง
รวมทั้งติดตามการเปิดเผยจีดีพีประจำไตรมาส 2/2025 ซึ่งเป็นประมาณครั้งแรก ตัวเลขเงินเฟ้ออย่างดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index) เดือนมิ.ย. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Conference Board เดือนก.ค. ดัชนี PMI ภาคการผลิตของสถาบัน ISM เดือนก.ค. การเปิดรับสมัครงานของ JOLTs เดือนมิ.ย. จำนวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขตชิคาโกเดือนก.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครัฐมิชิแกนเดือนก.ค. เป็นต้น
และนอกจากนี้ ติดตามการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) และติดตามการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและบรรดาประเทศคู่ค้าเพื่อให้ทันกำหนดเส้นตายในวันที่ 1 ส.ค. นี้
ประกาศราคาทองในประเทศครั้งเดียวประจำวันเสาร์ที่ 26 ก.ค. ปรับตัวลดลง 100 บาท สู่บริเวณ 51,250 บาท ส่วนสัปดาห์นี้(21-26 ก.ค.) มีการประกาศราคาทองทั้งหมด 35 ครั้งเป็นการปรับขึ้น 17 ครั้ง ลดลง 17 ครั้ง และคงที่อีก 1 ครั้ง รวมราคาปรับลดลง 150 บาท เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ด้านค่าเงินบาทที่เป็นอีกหนึ่งตัวกำหนดทิศทางทองคำในประเทศสัปดาห์นี้ยังเคลื่อนไหวแข็งระดับ 32 บาท ในช่วงระหว่าง 32.13-32.44 บาท ส่งผลเป็นปัจจัยกดดันต่อทองคำในประเทศปรับตัวลดลง
ดอลลาร์แข็งค่า-สัญญาณคืบหน้าทางการค้าฉุดทองคําร่วงต่อเนื่อง
ทองคํายังคงถูกกดดันจากแรงเทขาย หลังเจรจาการค้ามีความคืบหน้า
เทขายทองคําร่วงหนักคลายกังวลสหรัฐ-อียูใกล้บรรลุข้อตกลงการค้า
กังวลการค้าโลกหนุนแรงซื้อทองคําตลาดโลก-ในประเทศพุ่งขึ้นแรง
ดอลลาร์อ่อน-พันธบัตรร่วงหนุนทองคําโลกพุ่ง ไทยถูกบาทแข็งกดดัน
แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหนุนทองคํา แนวโน้มอยู่ในทิศทางขาขึ้น
ดอลลาร์อ่อน-แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยเป็นปัจจัยหนุนต่อทองคํา

ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ
96.5% | รับซื้อ | ขายออก |
---|---|---|
ทองคำแท่ง | 51,150.00 | 51,250.00 |
ทองรูปพรรณ | 50,134.12 | 52,050.00 |
วันนี้ -100 | -100 | |
26 กรกฎาคม 2568 | เวลา 09:04 น. | (ครั้งที่ 1) |
เรื่องที่เกี่ยวข้อง: ข่าวค่าเงิน, ข่าวราคาทองคำ, ข่าวเศรษฐกิจ, วิเคราะห์ทอง, วิเคราะห์ทองวันนี้, แนวโน้มราคาทอง
เขียนความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของคุณ