ราคาทองคําวันนี้

ราคาทองวันนี้ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ทองแท่ง ทองรูปพรรณ ราคาทองย้อนหลัง กราฟราคาทอง ข่าวแนวโน้มราคาทอง

ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

96.5%รับซื้อขายออก
ทองคำแท่ง42,500.0042,600.00
ทองรูปพรรณ41,735.4843,100.00
วันนี้ 5050
21 ธันวาคม 2567เวลา 09:05 น.(ครั้งที่ 1)

ข่าวข่าวเศรษฐกิจ


กสิกรไทยคาดหุ้นไทยฉุดไม่อยู่สัปดาห์หน้าขึ้นต่อ


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดสัปดาห์หน้าหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อจากแรงซื้อเก็งกำไร แต่ต้องระวังแรงขายทำกำไร โดยให้แนวรับที่ 1,520-1,505 จุด และแนวต้านที่ 1,565-1,600 จุด

เมื่อวันที่ 23 ก.พ. มีรายงานว่า บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้นจากแรงซื้อเก็งกำไร ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ระดับ 1,540.13 จุด เพิ่มขึ้น 1.22% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 2.79% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 59,536.43 ล้านบาท โดยนักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนรายย่อย ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 462.87 จุด เพิ่มขึ้น 2.63% จากสัปดาห์ก่อน

ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางแรงซื้อเก็งกำไรจากนักลงทุน รวมทั้งแรงซื้อจากกองทุนในประเทศ ก่อนที่จะปรับลดลงในวันพฤหัสบดี โดย

คาดสัปดาห์หน้าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.80-29.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด สัปดาห์หน้าค่าเงินบาทเคลื่อนไหวที่ 29.80-29.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ และจับตาการตัดลดงบประมาณอัตโนมัติของสหรัฐฯ และคำแถลงนโยบายการเงินและเศรษฐกิจของเฟด

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า เงินบาททรงตัว โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ตามทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาคและการปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นไทย อย่างไรก็ดี เงินบาทต้องล้างช่วงบวกทั้งหมดลงและกลับมาทยอยอ่อนค่าในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ ดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้น หลังจากที่บันทึกการประชุมเฟดเมื่อปลายเดือนม.ค.กระตุ้นให้ตลาดเริ่มกังวล เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการยุติมาตรการ QE ในช่วงปลายปีนี้ อนึ่ง การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทยังเป็นไปอย่างปกติในช่วงหลังการประชุมกนง.รอบ ล่าสุด ซึ่งมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไว้ที่ 2.75% ตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในตลาด ในวันศุกร์ (22 ก.พ.) เงินบาทอยู่ที่ 29.84 เท่ากับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ก่อนหน้า (15 ก.พ.)

ปิดตลาดหุ้นไทยสุดสัปดาห์(ศุกร์ที่ 22 ก.พ.56) ปรับเพิ่ม 11.39 จุด


ปิดตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ที่ 22 ก.พ. ที่ระดับ 1,540.13 จุด ปรับเพิ่ม 11.39 จุด รวมมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 75,174.07

ปิดตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ที่ 22 ก.พ.2556 ที่ระดับ 1,540.13 จุด ปรับเพิ่ม 11.39 จุด รวมมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 75,174.07 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 384 หลักทรัพย์ ลดลง 272 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 142 หลักทรัพย์

สำหรับ 5 อันดับที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด ได้แก่
1.บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

ปิดตลาดเช้าหุ้นไทยสุดสัปดาห์(ศุกร์ที่ 22 ก.พ.56) บวก 11.25 จุด


ปิดตลาดเช้าหุ้นไทยวันศุกร์ที่ 22 ก.พ. ที่ระดับ 1,539.99 จุด เพิ่มขึ้น 11.25 จุด รวมมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 44,371.00 ล้านบาท

ปิดตลาดเช้าหุ้นไทยวันศุกร์ที่ 22 ก.พ.2556 ที่ระดับ 1,539.99 จุด เพิ่มขึ้น 11.25 จุด รวมมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 44,371.00 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 416 หลักทรัพย์ ลดลง 200 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 129 หลักทรัพย์

สำหรับ 5 อันดับ ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด ได้แก่
1.บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

ตลาดหุ้น เตรียมพร้อมรับมือไฟดับ


ตลาดหลักทรัพย์เตรียมพร้อมรับมือไฟดับ เผยมีไฟสำรองพร้อมเพื่อไม่ให้ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์สะดุด ส่วนโบรกเกอร์น่าจะมีระบบสำรองไฟอยู่ตามอาคารสำนักงานอยู่แล้ว…

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. นางเกศรา มัญชุศรี รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีกระทรวงพลังงานจะประภาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานและอาจมีการดับไฟ หรือหยุดจ่ายไฟบางพื้นที่นั้น ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการดับไฟในพื้นที่ไหน และในช่วงเวลาใด แต่ในความเห็นส่วนตัว เชื่อว่าทางรัฐบาลคงจะไม่หยุดจ่ายไฟในพื้นที่ใจกลางธุรกิจ หรือปล่อยให้เกิดไฟดับขึ้น มิเช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ และเชื่อว่าน่าจะมีทางออกที่ดีได้ ที่ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาพรวม

สำหรับในส่วนของตลาดหลักทรัพย์นั้น มีระบบไฟสำรอง พร้อมรับมือทั้งในกรณีไฟกระชากและในกรณีไฟดับ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ ยังมีระบบเติมน้ำมันที่สามารถนำมาปั่นไฟฟ้าได้ และสามารถมีไฟใช้อยู่ได้หลายวัน

ม.หอการค้าปรับเป้าใหม่โต 4.8-5.3% หลังเศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณโตแรง


เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณโตแรง ม.หอการค้า ปรับเป้าใหม่โต 4.8-5.3% ชี้มีโอกาสโตเกินกรอบ หากเศรษฐกิจโลกฟื้นชัด การเมืองไทยไร้ปัญหา ยันยังไม่เห็นฟองสบู่ มองหมดเวลาดอกเบี้ยขาลง แต่จะพลิกเป็นขาขึ้นช่วงไตรมาส 3 เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่า มีสัญญาณการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ศูนย์ฯ จึงได้ปรับประมาณการณ์อัตราเติบโตของปี 56 ใหม่ โดยคาดว่าจะเติบโตในกรอบ 4.8-5.3% หรือมีค่ากลางที่ 5% และมีโอกาสเติบโตได้มากกว่า 5.3% จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 4.5% หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความชัดเจนมากขึ้น และการเมืองไทยไม่มีปัญหา

“ปัจจัยบวกที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโต มาจากรัฐบาลยังคงอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าประมาณปลายไตรมาส 2 น่าจะมีเม็ดเงิน

ประเมินสิ้นปีค่าบาทมีสิทธิ์แตะ 28บาท ต่อ 1$


นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจตลาดเงิน ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานชมรมเอซีไอ ประเทศไทย หรือชมรมฟอเร็กซ์ ที่มีนักค่าเงินของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งเป็นสมาชิก เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทของไทยมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และในระยะกลางหรือภายในสิ้นปีนี้ ค่าเงินบาทมีโอกาสจะทะลุ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ลงมาแตะที่ 28 บาทต่อดอลลาร์ และเป็นไปได้ในระยะเวลา 3-4 ปี ข้างหน้า มีโอกาสเห็นค่าเงินบาทแตะที่ 25 บาทต่อดอลลาร์

“สภาพคล่องไหลเข้ามาลงทุนในเอเชียและไทยมากขึ้น เพราะอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ยังอยู่ในระดับต่ำอีก 2-3 ปี นอกจากนั้นภาวะเศรษฐกิจเอเชียที่ยังดีอยู่ ยังทำให้เงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้น และจะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้า”

นายศรัณย์ กล่าวอีกว่า ธนาคารทหารไทยได้แนะนำให้ลูกค้าปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยการซื้อประกันความเสี่ยงไว้ และเมื่อเห็นว่าผู้ประกอบการมีกำไรจากการขายสินค้า หักค่าธรรมเนียมในการซื้อประกันแล้ว ยังมีกำไรตามที่ต้องการ สำหรับในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา

กนง.มีมติ 6 ต่อ 1 คงดอกเบี้ยนโยบาย 2.75%


กนง.เมินแรงกดดันการเมือง ยืนกรานไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย ตัดสินใจ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ 2.75% เชื่ออัตราดอกเบี้ยปัจจุบันเอื้อต่อเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้ดีในช่วงที่ผ่านมา และจะยังโตได้ดีต่อเนื่อง…

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายนโยบายการเงิน ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวแถลงผลการประชุม กนง.ว่า กนง.มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 6 เสียงต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วัน) ไว้ที่ 2.75% เนื่องจากเห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีความเหมาะสม ที่จะเอื้อต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในอัตราที่ดีได้ โดยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและเป้าหมายเงินเฟ้อเอาไว้ได้ โดยกรรมการ 1 ท่าน เห็นสมควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เพื่อลดความเสี่ยงจากเงินทุนเคลื่อนย้าย และเห็นว่าเศรษฐกิจในภาพรวมยังมีความเปราะบาง

ปิดตลาดเช้าหุ้นไทย(พุธที่ 20 ก.พ.56) บวก 8.05 จุด


ปิดตลาดเช้าหุ้นไทยวันพุธที่ 20 ก.พ. ที่ระดับ 1,540.12 จุด เพิ่มขึ้น 8.05 จุด รวมมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 30,291.40 ล้านบาท ….

ปิดตลาดเช้าหุ้นไทยวันพุธที่ 20 ก.พ.2556 ที่ระดับ 1,540.12 จุด เพิ่มขึ้น 8.05 จุด รวมมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 30,291.40 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 385 หลักทรัพย์ ลดลง 214 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 173 หลักทรัพย์

สำหรับ 5 อันดับที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด ได้แก่
1.บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)

ลุ้นระทึก! ลดดอกเบี้ยเสียงแตก นายแบงก์ทายใจ กนง.ไม่ยอมงอ “การเมือง”


ลุ้นกันตัวโก่ง! ลดดอกเบี้ยนโยบาย ธปท.คาดประชุม กนง.ครั้งนี้ มติคณะกรรมการไม่เป็นเอกฉันท์ แต่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวดี เงินเฟ้อต่ำ นายแบงก์ทำนาย กนง.ยังไม่ลดดอกเบี้ยรอบนี้ แต่จะลดคราวหน้า หวั่นข้อครหารับลูกการเมือง คาด ทั้งปีดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5%

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 ก.พ.นี้ ถือเป็นการประชุมที่ถูกจับตามองมากที่สุด ทั้งจากภาคธุรกิจ และสถาบันการเงินว่า กนง.ทั้ง 7 คน จะตัดสินปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 2.75% หรือไม่ เนื่องจากก่อนหน้านี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ได้ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการ ธปท.เสนอให้ กนง.พิจารณาลดดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อลดการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ

ทั้งนี้ ในส่วนของ ธปท.นั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายงานภาพรวมเศรษฐกิจซึ่งจัดทำโดย ธปท. ที่จะใช้ในการประชุม กนง. วันที่ 20 ก.พ.นี้ พบว่า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังดีต่อเนื่องจากเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ปีที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 18.9% ขณะที่

ปิดตลาดเช้าหุ้นไทย(อังคารที่ 19 ก.พ.56)ปรับเพิ่ม 5.05 จุด


ปิดตลาดเช้าหุ้นไทยวันอังคารที่ 19 ก.พ. ที่ระดับ 1,528.34 จุด เพิ่มขึ้น 5.05 จุด รวมมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 23,037.77 ล้านบาท….

ปิดตลาดเช้าหุ้นไทยวันอังคารที่ 19 ก.พ.2556 ที่ระดับ 1,528.34 จุด เพิ่มขึ้น 5.05 จุด รวมมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 23,037.77 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 353 หลักทรัพย์ ลดลง 235 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 168 หลักทรัพย์

สำหรับ 5 อันดับที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด ได้แก่
1.บริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

เศรษฐกิจปี 55 พุ่งปรี๊ด 6.4% สศช.หนุนลดดอกเบี้ยแรงสกัดเงินร้อนเข้าไทย


จีดีพีไตรมาส 4 ปี 55 พรุ่งปรี๊ดโต 18.9% ดันเศรษฐกิจทั้งปี 55 ขยายตัว 6.4% สูงเกินคาด ภาคอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว นโยบายรถคันแรก เป็นฮีโร่กอบกู้เศรษฐกิจ ขณะที่ภาคเกษตรฟุบ รายได้เกษตรกรติดลบ 3% สศช.ห่วงเงินทุนไหลเข้าเป็นเงินร้อน ประกาศจุดยืนหนุนลดดอกเบี้ย ย้ำต้องลดให้มากพอเพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้า หากลดน้อยจะไม่เกิดผล

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4 ปี 55 ขยายตัว 18.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 54 ที่เกิดภาวะน้ำท่วมทำให้จีดีพีในขณะนั้นติดลบ 8.9% ส่งผลให้จีดีพีทั้งปี 55 ขยายตัว 6.4% จากที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ไว้ที่ 5.5% ทั้งนี้เป็นผลมาจากการขยายตัวเกือบทุกสาขา โดยสาขาการบริโภคขยายตัว 12.2% มาจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ยอดการจำหน่ายรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้น 312.9% ตัวเลขยอดจองรถจากกรมสรรพสามิตอยู่ที่ 1.25 ล้านคัน ส่งมอบไปแล้ว 700,000 คัน เหลืออีกกว่า 500,000 คันที่จะรับรถในปีนี้

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 4 ขยายตัว 21.7% ตามการขยายตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง โดยเฉพาะในเขต กทม.ที่มีการลงทุนก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า