ราคาทองคําวันนี้

ราคาทองวันนี้ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ทองแท่ง ทองรูปพรรณ ราคาทองย้อนหลัง กราฟราคาทอง ข่าวแนวโน้มราคาทอง

ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

96.5%รับซื้อขายออก
ทองคำแท่ง41,350.0041,450.00
ทองรูปพรรณ40,598.4841,950.00
วันนี้ -20050
18 เมษายน 2567เวลา 16:54 น.(ครั้งที่ 4)

ข่าวลงทุนนตลาดหุ้น


ภาวะการซื้อขายหุ้น และ ภาวะตลาดเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน


แนวโน้มดัชนี SET สัปดาห์ระหว่างวันที่ 4-8 มี.ค. 2556 บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีอาจเผชิญกับความผันผวน คาดว่าดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,515 และ 1,500 ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,570 และ 1,580 ตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทรงตัวต่อเนื่อง ส่วนอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืน (Overnight) มีระดับหนาแน่นที่ 2.65% ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน

เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นตามทิศทางเงินทุนไหลเข้าช่วงปลายสัปดาห์สอด– คล้องกับสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาค หลังประธานเฟดกล่าวย้ำความต่อเนื่องของการดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) แต่นักลงทุนยังคงระมัดระวังจากการปรับลดงบประมาณรายจ่ายอัตโนมัติของสหรัฐฯ (Sequestration) เมื่อวันที่ 1 มี.ค.

บลจ.กสิกรไทยเจ๋ง!!


ดัชนีหุ้นวันที่ 1 มี.ค.56 ปิดที่ 1,539.60 จุด ลดลง 1.98 จุด มีมูลค่าซื้อขาย 64,453.84 ล้านบาท

หุ้นที่ซื้อขายสูงสุด INTUCH ปิด 74 บาท บวก 2.75 บาท
2.MDX ปิด 20.20 บาท ลบ 2.30 บาท
3.PTT ปิด 345 บาท ลบ 5 บาท
4.ADVANC ปิด 207 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง
5.BBL ปิด 224 บาท บวก 5 บาท

บล.ฟิลลิปมองตลาดสัปดาห์หน้า ต้องติดตามการเจรจาปรับลดงบประมาณของสหรัฐฯที่จะมีผลต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ถ้าสามารถพ้นวิกฤติการปรับลดงบประมาณได้ จะเป็นแรงหนุนให้ตลาดปรับตัวขึ้นต่อได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ข้อสรุปตลาดมีโอกาสอ่อนตัวลงด้านเทคนิค ประเมินแนวต้านไว้ที่ 1,570 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1,510 จุด

หุ้นไทยเช้านี้เปิดบวก-ทิศทางเดียวกับภูมิภาค ขานรับ ศก.สหรัฐฯ “เฟด” ไม่เลิกคิวอี


หุ้นไทยเช้า(พฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556)นี้เปิดบวก 13 จุด ทิศทางเดียวกับภูมิภาคที่ปรับขึ้น 0.5-1.0% คาดขานรับ ศก.สหรัฐฯ ที่ออกมาดี และประธาน “เฟด” ส่งสัญญาณยังไม่เลิกคิวอี
ภาวะตลาดหุ้นไทยวันนี้ ดัชนีเปิดภาคเช้าเด้งขึ้นแรงกว่า 13 จุด ทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นภูมิภาคที่ปรับขึ้นเฉลี่ย 0.5-1.0% โดยเมื่อเวลา 10.11 น. ดัชนีอยู่ที่ระดับ 1,531.12 จุด เพิ่มขึ้น 13.07 จุด หรือเปลี่ยนแปลง +0.86% มูลค่าการซื้อขาย 7,281.11 ล้านบาท

ปิดตลาดเช้าหุ้นไทยต้นสัปดาห์(อังคารที่ 26 ก.พ.56)ปรับตัวลดลง 9.75 จุด


ปิดตลาดเช้าหุ้นไทยวันอังคารที่ 26 ก.พ. ที่ระดับ 1,530.38 จุด ลดลง 9.75 จุด รวมมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 31,050.10 ล้านบาท

ปิดตลาดเช้าหุ้นไทยวันอังคารที่ 26 ก.พ.2556 ที่ระดับ 1,530.38 จุด ลดลง 9.75 จุด รวมมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 31,050.10 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 273 หลักทรัพย์ ลดลง 316 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 142 หลักทรัพย์

สำหรับ 5 อันดับ ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด ได้แก่
1.บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน)

หุ้นไทยกว่า 1,700 จุด กำลังจะกลับมา!


ผมไม่แน่ใจว่าผู้อ่านหลายท่านที่กำลังอ่านบทความของผมในสัปดาห์นี้ อาจจะได้เห็นดัชนีหุ้นไทยไปไกลถึง 1,560 จุด! หรือในทางกลับกันอาจเห็นดัชนีหุ้นไทยกลับลำลงต่ำกว่า 1,500 จุด (อีกครั้ง) นี่แหละครับ การลงทุนมีความเสี่ยงหลากหลายมุม แต่ที่ดูจะมั่นใจได้ชัดเจน คือ ความคึกคัก หรือภาวะกระทิงในวงการตลาดหุ้นปีนี้ จะยังคงมีสถิติให้ต้องบันทึกอีกระยะหนึ่งพอสมควร เพราะเงินท่วมโลกดอกเบี้ยไทยสูงกว่าดอกเบี้ยในตลาดสำคัญของโลก แถมแบงก์ชาติอาจทานแรงกดดันให้ต้องลดดอกเบี้ยลงอีก ยิ่งทำให้ต้นทุนเล่นหุ้นต่ำลงอีก ผมจึงอยากให้ผู้อ่านลองดูมุมองของบรรดาโบรกเกอร์ในไทยจนถึงเวลานี้ เกือบ 100% มองกระทิงดุในตลาดหุ้นไทยยังคงควบขวิดดัชนีหุ้นสูงขึ้นจากเดิมที่เคยประเมินไว้

จากการลงทุนภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการกระตุ้นการบริโภคภาคประชาชนด้วยการลดภาษีบุคคลธรรมดา ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นยังคงเติบโตสูงจากการบริโภคและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ค่าย บลจ.ไอเอ็นจี

กสิกรไทยคาดหุ้นไทยฉุดไม่อยู่สัปดาห์หน้าขึ้นต่อ


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดสัปดาห์หน้าหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อจากแรงซื้อเก็งกำไร แต่ต้องระวังแรงขายทำกำไร โดยให้แนวรับที่ 1,520-1,505 จุด และแนวต้านที่ 1,565-1,600 จุด

เมื่อวันที่ 23 ก.พ. มีรายงานว่า บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้นจากแรงซื้อเก็งกำไร ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ระดับ 1,540.13 จุด เพิ่มขึ้น 1.22% จากสัปดาห์ก่อน ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 2.79% จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 59,536.43 ล้านบาท โดยนักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนรายย่อย ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติ และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ ส่วนตลาดหลักทรัพย์ MAI ปิดที่ 462.87 จุด เพิ่มขึ้น 2.63% จากสัปดาห์ก่อน

ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางแรงซื้อเก็งกำไรจากนักลงทุน รวมทั้งแรงซื้อจากกองทุนในประเทศ ก่อนที่จะปรับลดลงในวันพฤหัสบดี โดย

คาดสัปดาห์หน้าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.80-29.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด สัปดาห์หน้าค่าเงินบาทเคลื่อนไหวที่ 29.80-29.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ และจับตาการตัดลดงบประมาณอัตโนมัติของสหรัฐฯ และคำแถลงนโยบายการเงินและเศรษฐกิจของเฟด

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า เงินบาททรงตัว โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ตามทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาคและการปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นไทย อย่างไรก็ดี เงินบาทต้องล้างช่วงบวกทั้งหมดลงและกลับมาทยอยอ่อนค่าในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ ดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้น หลังจากที่บันทึกการประชุมเฟดเมื่อปลายเดือนม.ค.กระตุ้นให้ตลาดเริ่มกังวล เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการยุติมาตรการ QE ในช่วงปลายปีนี้ อนึ่ง การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทยังเป็นไปอย่างปกติในช่วงหลังการประชุมกนง.รอบ ล่าสุด ซึ่งมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไว้ที่ 2.75% ตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในตลาด ในวันศุกร์ (22 ก.พ.) เงินบาทอยู่ที่ 29.84 เท่ากับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ก่อนหน้า (15 ก.พ.)

ม.หอการค้าปรับเป้าใหม่โต 4.8-5.3% หลังเศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณโตแรง


เศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณโตแรง ม.หอการค้า ปรับเป้าใหม่โต 4.8-5.3% ชี้มีโอกาสโตเกินกรอบ หากเศรษฐกิจโลกฟื้นชัด การเมืองไทยไร้ปัญหา ยันยังไม่เห็นฟองสบู่ มองหมดเวลาดอกเบี้ยขาลง แต่จะพลิกเป็นขาขึ้นช่วงไตรมาส 3 เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่า มีสัญญาณการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ศูนย์ฯ จึงได้ปรับประมาณการณ์อัตราเติบโตของปี 56 ใหม่ โดยคาดว่าจะเติบโตในกรอบ 4.8-5.3% หรือมีค่ากลางที่ 5% และมีโอกาสเติบโตได้มากกว่า 5.3% จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 4.5% หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความชัดเจนมากขึ้น และการเมืองไทยไม่มีปัญหา

“ปัจจัยบวกที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโต มาจากรัฐบาลยังคงอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าประมาณปลายไตรมาส 2 น่าจะมีเม็ดเงิน

ประเมินสิ้นปีค่าบาทมีสิทธิ์แตะ 28บาท ต่อ 1$


นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจตลาดเงิน ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานชมรมเอซีไอ ประเทศไทย หรือชมรมฟอเร็กซ์ ที่มีนักค่าเงินของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งเป็นสมาชิก เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทของไทยมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และในระยะกลางหรือภายในสิ้นปีนี้ ค่าเงินบาทมีโอกาสจะทะลุ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ลงมาแตะที่ 28 บาทต่อดอลลาร์ และเป็นไปได้ในระยะเวลา 3-4 ปี ข้างหน้า มีโอกาสเห็นค่าเงินบาทแตะที่ 25 บาทต่อดอลลาร์

“สภาพคล่องไหลเข้ามาลงทุนในเอเชียและไทยมากขึ้น เพราะอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ยังอยู่ในระดับต่ำอีก 2-3 ปี นอกจากนั้นภาวะเศรษฐกิจเอเชียที่ยังดีอยู่ ยังทำให้เงินในภูมิภาคและค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งขึ้น และจะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้า”

นายศรัณย์ กล่าวอีกว่า ธนาคารทหารไทยได้แนะนำให้ลูกค้าปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยการซื้อประกันความเสี่ยงไว้ และเมื่อเห็นว่าผู้ประกอบการมีกำไรจากการขายสินค้า หักค่าธรรมเนียมในการซื้อประกันแล้ว ยังมีกำไรตามที่ต้องการ สำหรับในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา

กนง.มีมติ 6 ต่อ 1 คงดอกเบี้ยนโยบาย 2.75%


กนง.เมินแรงกดดันการเมือง ยืนกรานไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย ตัดสินใจ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ 2.75% เชื่ออัตราดอกเบี้ยปัจจุบันเอื้อต่อเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้ดีในช่วงที่ผ่านมา และจะยังโตได้ดีต่อเนื่อง…

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายนโยบายการเงิน ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวแถลงผลการประชุม กนง.ว่า กนง.มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 6 เสียงต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วัน) ไว้ที่ 2.75% เนื่องจากเห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีความเหมาะสม ที่จะเอื้อต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในอัตราที่ดีได้ โดยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและเป้าหมายเงินเฟ้อเอาไว้ได้ โดยกรรมการ 1 ท่าน เห็นสมควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เพื่อลดความเสี่ยงจากเงินทุนเคลื่อนย้าย และเห็นว่าเศรษฐกิจในภาพรวมยังมีความเปราะบาง

ลุ้นระทึก! ลดดอกเบี้ยเสียงแตก นายแบงก์ทายใจ กนง.ไม่ยอมงอ “การเมือง”


ลุ้นกันตัวโก่ง! ลดดอกเบี้ยนโยบาย ธปท.คาดประชุม กนง.ครั้งนี้ มติคณะกรรมการไม่เป็นเอกฉันท์ แต่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวดี เงินเฟ้อต่ำ นายแบงก์ทำนาย กนง.ยังไม่ลดดอกเบี้ยรอบนี้ แต่จะลดคราวหน้า หวั่นข้อครหารับลูกการเมือง คาด ทั้งปีดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5%

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 ก.พ.นี้ ถือเป็นการประชุมที่ถูกจับตามองมากที่สุด ทั้งจากภาคธุรกิจ และสถาบันการเงินว่า กนง.ทั้ง 7 คน จะตัดสินปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจาก 2.75% หรือไม่ เนื่องจากก่อนหน้านี้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ได้ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการ ธปท.เสนอให้ กนง.พิจารณาลดดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อลดการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ

ทั้งนี้ ในส่วนของ ธปท.นั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายงานภาพรวมเศรษฐกิจซึ่งจัดทำโดย ธปท. ที่จะใช้ในการประชุม กนง. วันที่ 20 ก.พ.นี้ พบว่า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังดีต่อเนื่องจากเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ปีที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 18.9% ขณะที่

ตลาดหุ้น-อสังหาฯ-ค่าบาทร้อน!หวั่นฟองสบู่แตกซ้ำรอยต้มยำกุ้ง


ทุกฝ่ายกำลังจับจ้องมาที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 ก.พ.นี้ จะตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างไร หลังจากที่ถูกฝ่ายการเมืองอย่าง ’กิตติรัตน์ ณ ระนอง“ รองนายกฯ และ รมว.คลัง กระหน่ำ!! ทั้งจากคำพูดและพฤติการณ์ด้วยการส่งจดหมายท้วงติงไปยังบอร์ดของแบงก์ชาติ ว่าด้วยหน้าที่ของ ธปท.ในการดูแลค่าเงินบาท

วัดใจ กนง.หลังถูกบีบ

นาทีนี้…เวลานี้ คงทำให้การตัดสินใจของ กนง.ยากยิ่งขึ้น เพราะไม่มีเพียงแค่ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่กลับกลายเป็นว่าปัจจัย “การเมือง” กำลังกลายเป็นตัวบีบคั้นที่สำคัญ…

ปมของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีเหตุผลสำคัญมาจากเหตุการณ์ “เงินท่วมโลก” จนหลั่งไหลจากฟากตะวันตกมาตะวันออกเพื่อแสวงหาประโยชน์จากส่วนต่างดอกเบี้ย


Page 3 of 41234