ราคาทองคำตลาดโลกปิดลดลงเมื่อคืนนี้ที่ผ่านมา เนื่องจากเพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าขึ้นของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ก่อนจะทราบผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ในช่วงดึกคืนวันนี้ นักลงทุนต่างระมัดระวังในการซื้อขาย
ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ
96.5% | รับซื้อ | ขายออก |
---|---|---|
ทองคำแท่ง | 50,550.00 | 50,650.00 |
ทองรูปพรรณ | 49,633.84 | 51,450.00 |
วันนี้ -50 | 50 | |
20 พฤษภาคม 2568 | เวลา 16:01 น. | (ครั้งที่ 14) |
ข่าวราคาทองตลาดโลก
เฟดเดินหน้า QE หุ้น, น้ำมัน, ทองคำ พุ่งแรง ในประเทศเปิดตลาดพุ่ง 450 บาท
ราคาทองเมื่อวานนี้(18) เคลื่อนไหวผันผวนขึ้นลงตลอดทั้งวัน โดยราคาเคลื่อนไหวใกล้แนวรับสำคัญบริเวณ 1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เหตุเพราะนักลงทุนต่างรอติดตามผลการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC ต่อการกำหนดใช้มาตราการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE
ในช่วงเช้าราคาทองปรับลดลงจากแรงขายทำกำไรและลดความเสี่ยงก่อนรายงานก่อนประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ และกลับพุ่งทะยานขึ้นหลังจากทราบผลการประชุมดังกล่าวในช่วงค่ำ
ทองคำนิวยอร์ค(อังคารที่ 4 มิ.ย.56) ปิดร่วง 14.7 เหตุเงินดอลลาร์แข็ง
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงต่ำกว่าระดับ 1,400 ดอลลาร์ต่อออนซ์เมื่อคืนนี้(อังคารที่ 4 มิ.ย.56) เพราะได้แรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยยอดขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนสิงหาคม 56 ร่วงลง 14.7 ดอลลาร์ หรือ 1.04% ปิดที่ 1,397.2 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และสัญญาโลหะเงิน ส่งมอบเดือนกรกฏาคม 56 ปิดที่ 22.409 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ลดลง 31.2 เซนต์
ทองคำนิวยอร์กปิดร่วง $19 หลังความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐพุ่ง
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงต่ำกว่า 1,400 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เมื่อคืนนี้(ศุกร์ที่ 31 พ.ค.56) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาในเชิงบวกบางส่วน
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนสิงหาคม 56 ปิดร่วงลง 19 ดอลลาร์ หรือ 1.35% ที่ 1,393 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และ
สัญญาโลหะเงิน ส่งมอบเดือนกรกฏาคม 56 ปิดลบ 44.7 เซนต์ ที่ 22.243 ดอลลาร์
ทองนิวยอร์ค(พฤหัสฯที่ 30 พ.ค.56) ปิดพุ่ง ดาวโจนส์บวกหวังเฟดเดินหน้าQE
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้(พฤหัสบดีที่ 30 พ.ค.56) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ รวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่ขยายตัวในอัตราที่ช้าลง ได้ทำให้นักลงทุนคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังคงเดินหน้าโครงการซื้อพันธบัตรต่อไป ส่วนทองคำปิดพุ่ง 20.2 ดอลลาร์ต่อออนน์ ได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 21.73 จุด หรือ 0.14% แตะที่ 15,324.53 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 6.05 จุด หรือ 0.37% แตะที่ 1,654.41 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดบวก 23.78 จุด หรือ 0.69% แตะที่ 3,491.30 จุด
ทองตลาดนิวยอร์ค(อังคารที่ 28 พ.ค.56) ปิดลบ 7.7 ดอลลาร์ หลังนักวิเคราะห์ลดคาดการณ์ราคาทอง
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้(อังคารที่ 28 พ.ค.56) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ การพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นนิวยอร์กและการที่นักวิเคราะห์ปรับลดคาดการณ์ราคาทองคำ ยังเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดสัญญาทองคำร่วงลงด้วย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.56 ร่วงลง 7.7 ดอลลาร์ หรือ 0.56% ปิดที่ 1,378.9 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากเคลื่อนไหวในช่วง 1372.10-1401.00 ดอลลาร์
ทองคำตลาดโลกนิวยอร์ค ปิดลบที่ 5.2ดอลลาร์
สัญญาทองคำตลาดCOMEXปิดลดลง 5.2 ดอลลาร์ ก่อนตลาดหยุด 3 วันติดต่อกันในสุดสัปดาห์
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์ก ปิดลบเมื่อคืนนี้(ศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2556) เนื่องมาจากนักลงทุนระงับการซื้อขายก่อนที่ตลาดจะปิดทำการเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนกรกฏาคม 56 ลดลง 5.2 ดอลลาร์ หรือ 0.37% ปิดที่ 1,386.6 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ฮั่วเซ่งเฮง เผยทองผันผวนรับมุมมองเฟดเรื่องการผ่อนคลายทางการเงิน
ราคาทองคำแกว่งตัว ผันผวนตอบรับคำแถลง ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ และรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในครั้งหลังสุด ก่อนที่จะปิดตลาดเมื่อคืนนี้ อ่อนตัวลงจากระดับปิดของวันอังคารเล็กน้อย
ราคาทองคำแกว่งตัว ผันผวนตอบรับคำแถลง ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ และรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในครั้งหลังสุด ก่อนที่จะปิดตลาดเมื่อคืนนี้(พุธที่ 22 พฤษภาคม 2556) อ่อนตัวลงจากระดับปิดของวันอังคารเล็กน้อย และยังมีแนวโน้มว่า ราคาจะแกว่งตัวขึ้นลงผันผวนในลักษณะเดียวกับช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา โดยราคาทองปิดตลาดเมื่อวานนี้(พุธที่ 22 พฤษภาคม 2556)ที่ 1,369.60 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ปรับตัวลดลง 5.60 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ราคาทำจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่บริเวณ 1,354 และ 1,412 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ ตามลำดับ