ราคาทองคําวันนี้

ราคาทองวันนี้ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ทองแท่ง ทองรูปพรรณ ราคาทองย้อนหลัง กราฟราคาทอง ข่าวแนวโน้มราคาทอง

ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

96.5%รับซื้อขายออก
ทองคำแท่ง44,150.0044,250.00
ทองรูปพรรณ43,357.6044,750.00
วันนี้ 00
23 พฤศจิกายน 2567เวลา 09:00 น.(ครั้งที่ 1)

ข่าวอัตราแลกเปลียนเงินตราต่างประเทศ


คาดสัปดาห์หน้า(8-12เม.ย.56) ค่าบาทเคลื่อนไหวที่29.20-29.50บาทต่อดอลลาร์


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด สัปดาห์หน้า(8-12เม.ย.2556)ค่าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.20-29.50 บาทต่อดอลลาร์ แนะจับตาสถานการณ์หนี้ยูโรโซน และผลต่อเนื่องจากมาตรการผ่อนคลายเชิงรุกของธนาคารกลางญี่ปุ่น…

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า เงินบาทกลับมาแข็งค่าท้ายสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงตามการปรับตัวลงของตลาดหุ้นไทย (นักลงทุนต่างชาติมีสถานะขายสุทธิ) และแรงซื้อเงินดอลลาร์ จากกลุ่มผู้นำเข้าในช่วงที่สอดคล้องกับการดิ่งตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลก อย่างไรก็ดี เงินบาทดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ (แม้ธุรกรรมจะเบาบางก่อนช่วงวันหยุดยาวของตลาดในประเทศ) ท่ามกลางความหวังต่อเงินทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง * ในวันศุกร์ (5 เม.ย.2556) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.28 เทียบกับระดับ 29.28 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (29 มี.ค.2556)

มติกนง. 5 ต่อ 1 เสียง คงดอกเบี้ยนโยบาย 2.75%


กนง.ตรึง อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.75%ต่ออีกรอบ ระบุเศรษฐกิจไทย-เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง ขณะที่หากไม่ระมัดระวังให้ดี โอกาสที่เสถียรภาพทางการเงินมีปัญหา และเกิดภาวะฟองสบู่ในอนาคตได้

เมื่อวันพุธที่ 3 เม.ย.2556 นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน เลขานุการ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุมกนง. วันนี้ (พุธที่3 เม.ย.56) ว่า กนง.มีมติ 5 ต่อ 1 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.75 % ต่อปีเท่าเดิม โดยกรรมการ 1 ท่านเห็นสมควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 % ต่อปี โดยคณะกรรมการท่านดังกล่าว เห็นว่าความเสี่ยงของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงมีสูงและเศรษฐกิจใน ประเทศมีแนวโน้มที่อาจจะชะลอตัว ทำให้เห็นความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และในการประชุมครั้งนี้ กรรมการ 1 ท่าน ติดภารกิจในต่างประเทศจึงไม่สามารถเข้าร่วมประชุมขณะที่คณะกรรมการฯที่เหลือ อีก 5 ท่าน มองว่า ในภาพรวมของ

คาดสัปดาห์หน้าค่าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.20-29.50 บาทต่อดอลลาร์


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด สัปดาห์หน้าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.20-29.50 บาทต่อดอลลาร์ แนะจับตาการประชุม กนง.และสถานการณ์วิกฤติหนี้ยุโรป

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า เงินบาททรงตัวในกรอบแคบๆ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวขึ้น (ตลาดเอเชีย) หลังจากที่ยูโรโซนได้อนุมัติแผนการของ EU/IMF ในการปรับโครงสร้างภาคธนาคารของไซปรัสทันเวลาตามเส้นตายที่ธนาคารกลางยุโรป กำหนดไว้ อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงและกลับมาปรับตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ ในช่วงใกล้สิ้นเดือนจากผู้นำเข้า และธุรกรรมที่เกี่ยวกับการส่งกลับกำไรของบริษัทญี่ปุ่นในไทยในช่วงปิดสิ้นปี งบการเงิน 31 มี.ค. 2556 ในวันศุกร์ (29 มี.ค.56) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.28 เทียบกับระดับ 29.29 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (22 มี.ค.56)

ต้นสัปดาห์จันทร์ที่ 25 มี.ค. 56 บาทเปิดตลาดที่29.22/24แข็งค่าตามยูโร


ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 29.22/24 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าตามยูโร คาดวันนี้(จันทร์ที่ 25 มี.ค. 2556)เคลื่อนไหวในกรอบ 29.20-29.35 บาท/ดอลลาร์

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในวันนี้ (จันทร์ที่ 25 มี.ค.56) ว่า เปิดตลาดที่ระดับ 29.22/24 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเย็นวันศุกร์(22 มีนาคม 2556)ที่ระดับ 29.29/31 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันค่าเงินยูโร

ลุ้นสัปดาห์หน้า บาทแข็งเกิน29บาทต่อดอลลาร์


ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด สัปดาห์หน้าค่าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.00-29.40 บาทต่อดอลลาร์ แนะจับตาสัญญาณการชะลอตัวของกระแสเงินทุนไหลเข้า

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี ก่อนลดช่วงบวกลงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังทะลุผ่านระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 29.50 และได้เข้าทดสอบแนวต้านใกล้ 29.10 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงกลางสัปดาห์ ท่ามกลางแรงหนุนจากกระแสเงินทุนไหลเข้า และคำสั่งขายเงินดอลลาร์ ที่มาจากหลายด้าน ขณะที่ ทางการไทยยังไม่ส่งสัญญาณใช้มาตรการดูแลค่าเงินบาท แต่กระนั้นเงินบาทได้ลดช่วงบวกลงในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับการชะลอตัวของเงินทุนไหลเข้า และแรงขายอย่างหนักในตลาดหุ้นไทย ในวันศุกร์ (22 มี.ค.56) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.29 เทียบกับระดับ 29.52 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (15 มี.ค.56)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิด4ทางเลือกป้องบาท ลดผลกระทบศก.


กสิกรไทยเปิด 4 ทางเลือกป้องบาท! ลดผลกระทบเศรษฐกิจ หลังวันนี้แข็งโป๊กในรอบ 16 ปี บอกทุก 1% สะเทือนจีดีพี 0.1-0.3%

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงาน สถานการณ์เงินบาทแข็งค่าปี 2556 … ประเมินทางเลือกของเครื่องมือ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างรวดเร็วทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี และสะท้อนภาพการแข็งค่าที่ฉีกตัวออกจากทิศทางในภาพรวมของสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย

การดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทด้วยเครื่องมือต่างๆ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการไทยคงต้องจัดลำดับความสำคัญของโจทย์เศรษฐกิจที่ต้องดูแล และเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ระดับเฉลี่ยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุกๆ 1% จะมีผลกระทบต่อจีดีพีปี 2556 ราว 0.1-0.3%

บาทแข็งใกล้แตะ 28 บาท ต่างชาติกลัว ธปท.สกัดเงินร้อนขายหุ้นหนี


นายกรัฐมนตรี เรียก ครม.เศรษฐกิจ ธปท.และ สศช.ถกด่วน หารือเงินบาทแข็งใกล้แตะ 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ “กิตติรัตน์” ยันรัฐไม่มีมาตรการสกัดเงินร้อนฝืนธรรมชาติ นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยวันเดียว 3,000 ล้านบาทหวั่น ธปท.ใช้กฎเหล็กคุมเงินไหลเข้า

ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า วานนี้ (20 มี.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เช่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยหารือเรื่องการแข็งค่าของเงินบาท หลังจากนั้น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวว่า ธปท.ได้รายงานต่อที่ประชุมมีเงินทุนระยะสั้นไหลเข้ามาในตลาดการเงิน อย่างไร ก็ตาม ที่ประชุมไม่ได้ออกมาตรการใดมาเป็นพิเศษ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปไตร่ตรองทบทวนนโยบายต่างๆ ภายใต้หลักการ 3 ประการคือ

อังคารที่19 มี.ค.2556 บาทแข็งค่าสูงสุดรอบ16 ปี


นักวิเคราะห์การเงินธนาคารกรุงเทพ เผย บาทไทยวันนี้(อังคารที่ 19 มีนาคม 2556)แข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี หลังเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2556 นักวิเคราะห์การเงินธนาคารกรุงเทพ กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 29.39-29.41 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการแข็งค่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1997 ซึ่งการ

คาดสัปดาห์หน้าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.60-29.85 บาทต่อดอลลาร์


ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด สัปดาห์หน้าค่าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.60-29.85 บาทต่อดอลลาร์ แนะติดตามการตอบรับตลาดต่อตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและความคืบหน้าแก้วิกฤติงบประมาณสหรัฐฯ…

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น หลังจากอ่อนค่าช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลต่อข้อมูลภาคการผลิตและภาคบริการเดือน ก.พ. ของจีน ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงติดลบ และกลับมาแข็งค่าขึ้นเข้าใกล้ระดับ 29.70 บาทต่อดอลลาร์ อีกครั้งในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยมีแรงหนุนจากกระแสเงินทุนไหลเข้าและความต้องการเสี่ยงของนักลงทุนที่ถูกกระตุ้นจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐฯ และมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจยูโรโซนจากประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันศุกร์ (8 มี.ค.) เงินบาทอยู่ที่ 29.73 แข็งค่าขึ้นจากระดับ 29.78 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (1 มี.ค.)

ภาวะการซื้อขายหุ้น และ ภาวะตลาดเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน


แนวโน้มดัชนี SET สัปดาห์ระหว่างวันที่ 4-8 มี.ค. 2556 บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีอาจเผชิญกับความผันผวน คาดว่าดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,515 และ 1,500 ขณะที่แนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 1,570 และ 1,580 ตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทรงตัวต่อเนื่อง ส่วนอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืน (Overnight) มีระดับหนาแน่นที่ 2.65% ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน

เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นตามทิศทางเงินทุนไหลเข้าช่วงปลายสัปดาห์สอด– คล้องกับสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาค หลังประธานเฟดกล่าวย้ำความต่อเนื่องของการดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) แต่นักลงทุนยังคงระมัดระวังจากการปรับลดงบประมาณรายจ่ายอัตโนมัติของสหรัฐฯ (Sequestration) เมื่อวันที่ 1 มี.ค.

คาดสัปดาห์หน้าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.80-29.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด สัปดาห์หน้าค่าเงินบาทเคลื่อนไหวที่ 29.80-29.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ และจับตาการตัดลดงบประมาณอัตโนมัติของสหรัฐฯ และคำแถลงนโยบายการเงินและเศรษฐกิจของเฟด

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า เงินบาททรงตัว โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นในช่วงต้น-กลางสัปดาห์ตามทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาคและการปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นไทย อย่างไรก็ดี เงินบาทต้องล้างช่วงบวกทั้งหมดลงและกลับมาทยอยอ่อนค่าในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ ดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้น หลังจากที่บันทึกการประชุมเฟดเมื่อปลายเดือนม.ค.กระตุ้นให้ตลาดเริ่มกังวล เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการยุติมาตรการ QE ในช่วงปลายปีนี้ อนึ่ง การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทยังเป็นไปอย่างปกติในช่วงหลังการประชุมกนง.รอบ ล่าสุด ซึ่งมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยไว้ที่ 2.75% ตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในตลาด ในวันศุกร์ (22 ก.พ.) เงินบาทอยู่ที่ 29.84 เท่ากับระดับปิดตลาดในวันศุกร์ก่อนหน้า (15 ก.พ.)


Page 4 of 41234