ราคาทองคําวันนี้

ราคาทองวันนี้ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ทองแท่ง ทองรูปพรรณ ราคาทองย้อนหลัง กราฟราคาทอง ข่าวแนวโน้มราคาทอง

ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ

96.5%รับซื้อขายออก
ทองคำแท่ง43,600.0043,700.00
ทองรูปพรรณ42,811.8444,200.00
วันนี้ 60050
21 พฤศจิกายน 2567เวลา 15:38 น.(ครั้งที่ 7)

ข่าวอัตราแลกเปลี่ยน


ดอลลาร์แข็งรับเศรษฐกิจฟื้น ทำบาทอ่อนค่าลง


วันนี้(ศุกร์ที่ 10 พ.ค.56) นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทในวันนี้(ศุกร์ที่ 10 พ.ค.56) ว่า ทิศทางยังคงจะไปในทิศทางอ่อนค่าต่อไป โดยปัจจัยหลักน่าจะมาจาก การที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน โดยได้ทะลุระดับ 101 เยน ต่อ ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยบวกเรื่องรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เมื่อคืนที่ผ่านมา เรื่องตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี อีกทั้ง การส่งสัญญาณจาก ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ที่ออกมาในระยะหลัง มีท่าทีทำนองจะยุติมาตรการผ่อนคลายทางการเงินลง

พุธที่8พ.ค.56 เงินบาทปิดตลาดที่29.33/40 แข็งค่าตามยูโร


ค่าเงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 29.33/40 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นตามเงินสกุลยูโร-เงินไหลเข้าหนุน

นักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทปิดตลาดวันนี้พุธที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่ระดับ 29.33-29.40 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากที่เปิดตลาดในช่วงเช้า ตามการแข็งค่าของเงินสกุลยูโรที่แข็งค่าขึ้นมาในช่วงบ่ายวันนี้ ประกอบกับมีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ส่งผลให้มีความต้องการซื้อเงินบาทมีมากขึ้น บาทจึงแข็งค่าขึ้นมาจากช่วงเช้า โดยระหว่างวันแข็งค่าสุดที่ระดับ 29.33 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับวันพรุ่งนี้(พฤหัสบดีที่ 9 พ.ค.56) ทิศทางของค่าเงินบาทขึ้นอยู่กับท่าทีของรัฐบาล ว่า

สกุลเงินเอเชียเริ่มแข็งค่าใกล้ค่าบาท


ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เชื่อ การอ่อนค่าของค่าเงินบาทในช่วงนี้ คงไม่รุนแรงเหมือนในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่สกุลเงินเอเชีย เริ่มแข็งค่าใกล้บาทแล้ว…

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทในวันนี้ ว่า สำหรับค่าเงินบาทในช่วงเช้าวันนี้ ยังคงนิ่งๆ อยู่ โดยเช้านี้ อยู่ที่ระดับ 29.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติยังกังวลว่า ทางการจะมีการออกมาตรการอะไร ออกมาดูแลทิศทางของค่าเงินบาท สำหรับกรอบค่าเงินบาทในวันนี้อังคารที่  7 พ.ค. 56 อยู่ที่ 29.65-29.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

แนวโน้มสัปดาห์หน้า(6-10พ.ค.56)บาทอ่อนค่า จับตารัฐสกัดบาทแข็ง


แนวโน้มค่าเงินบาทสัปดาห์หน้าอ่อนค่าในกรอบ 29.30-29.90 บาทต่อดอลลาร์ จับตารัฐงัดมาตรการสกัดบาทแข็ง-ตัวเลขศก.สหรัฐ

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทรงตัวต่อเนื่อง โดยธนาคารพาณิชย์มีการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันอังคารและเข้าสู่ปักษ์ใหม่ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ประเภทกู้ยืมข้ามคืน (Overnight) มีระดับหนาแน่นที่ 2.65% ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน ส่วนอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยที่ประมูลได้ของธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี (Bilateral Repo) ระยะเวลาไม่เกิน1เดือน อยู่ที่ 2.74925-2.75% เทียบกับ 2.75% จากสัปดาห์ก่อน

ศูนย์วิจัยกสิกร คาด ธปท. ยังไม่ลดดอกเบี้ย


ศูนย์วิจัยกสิกร คาด ธปท. ยังไม่ลดดอกเบี้ยนางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด แบงก์ชาติ ยังไม่ลดดอกเบี้ย ตามแรงกดดัน…

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทเช้านี้ว่า อ่อนค่าลงไปอีกเล็กน้อย โดยไปอยู่ที่ 28.84 – 28.85 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ น่าจะมาจากความต้องการดอลลาร์ของกลุ่มผู้ประกอบการในประเทศในช่วงสิ้นเดือน และความกังวล กรณีธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กล่าวเตือนเรื่องความเคลื่อนไหวของค่าเงิน

ธปท.แจงบาทแข็งโป๊ก 28.95 รอบ 16 ปี แห่ซื้อกองอินฟราฯบีทีเอส


ประสาร“รับบาทแข็งเร็วเกินไป หลังบีโอเจงัดมาตรการผ่อนคลายการเงิน ผสมโรงนักลงทุนต่างชาติโยกเงินเข้าลงทุนกองทุนอินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์บีทีเอส

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เงินบาทวันนี้แข็งค่าเร็วเกินไป เนื่องจากค่าเงินเยนอ่อนค่าเร็วมาก หลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ออกมาตรการผ่อนคลายมากกว่าคาด และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนักลงทุนต่างชาติโยกเข้าลงทุนในกองทุน BTSGIS โดยค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบดอลลาร์ 1.4% จากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และแข็งค่า 4% เมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ซึ่ง ธปท.มองว่าเงินเยนที่อ่อนค่าน่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าส่งผลเสีย

คาดสัปดาห์หน้า(8-12เม.ย.56) ค่าบาทเคลื่อนไหวที่29.20-29.50บาทต่อดอลลาร์


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด สัปดาห์หน้า(8-12เม.ย.2556)ค่าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.20-29.50 บาทต่อดอลลาร์ แนะจับตาสถานการณ์หนี้ยูโรโซน และผลต่อเนื่องจากมาตรการผ่อนคลายเชิงรุกของธนาคารกลางญี่ปุ่น…

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า เงินบาทกลับมาแข็งค่าท้ายสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงตามการปรับตัวลงของตลาดหุ้นไทย (นักลงทุนต่างชาติมีสถานะขายสุทธิ) และแรงซื้อเงินดอลลาร์ จากกลุ่มผู้นำเข้าในช่วงที่สอดคล้องกับการดิ่งตัวลงของราคาทองคำในตลาดโลก อย่างไรก็ดี เงินบาทดีดตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ (แม้ธุรกรรมจะเบาบางก่อนช่วงวันหยุดยาวของตลาดในประเทศ) ท่ามกลางความหวังต่อเงินทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง * ในวันศุกร์ (5 เม.ย.2556) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.28 เทียบกับระดับ 29.28 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (29 มี.ค.2556)

มติกนง. 5 ต่อ 1 เสียง คงดอกเบี้ยนโยบาย 2.75%


กนง.ตรึง อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.75%ต่ออีกรอบ ระบุเศรษฐกิจไทย-เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง ขณะที่หากไม่ระมัดระวังให้ดี โอกาสที่เสถียรภาพทางการเงินมีปัญหา และเกิดภาวะฟองสบู่ในอนาคตได้

เมื่อวันพุธที่ 3 เม.ย.2556 นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน เลขานุการ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุมกนง. วันนี้ (พุธที่3 เม.ย.56) ว่า กนง.มีมติ 5 ต่อ 1 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.75 % ต่อปีเท่าเดิม โดยกรรมการ 1 ท่านเห็นสมควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 % ต่อปี โดยคณะกรรมการท่านดังกล่าว เห็นว่าความเสี่ยงของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงมีสูงและเศรษฐกิจใน ประเทศมีแนวโน้มที่อาจจะชะลอตัว ทำให้เห็นความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และในการประชุมครั้งนี้ กรรมการ 1 ท่าน ติดภารกิจในต่างประเทศจึงไม่สามารถเข้าร่วมประชุมขณะที่คณะกรรมการฯที่เหลือ อีก 5 ท่าน มองว่า ในภาพรวมของ

คาดสัปดาห์หน้าค่าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.20-29.50 บาทต่อดอลลาร์


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด สัปดาห์หน้าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.20-29.50 บาทต่อดอลลาร์ แนะจับตาการประชุม กนง.และสถานการณ์วิกฤติหนี้ยุโรป

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า เงินบาททรงตัวในกรอบแคบๆ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวขึ้น (ตลาดเอเชีย) หลังจากที่ยูโรโซนได้อนุมัติแผนการของ EU/IMF ในการปรับโครงสร้างภาคธนาคารของไซปรัสทันเวลาตามเส้นตายที่ธนาคารกลางยุโรป กำหนดไว้ อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงบวกลงและกลับมาปรับตัวในกรอบแคบๆ ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์ ในช่วงใกล้สิ้นเดือนจากผู้นำเข้า และธุรกรรมที่เกี่ยวกับการส่งกลับกำไรของบริษัทญี่ปุ่นในไทยในช่วงปิดสิ้นปี งบการเงิน 31 มี.ค. 2556 ในวันศุกร์ (29 มี.ค.56) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.28 เทียบกับระดับ 29.29 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (22 มี.ค.56)

ต้นสัปดาห์จันทร์ที่ 25 มี.ค. 56 บาทเปิดตลาดที่29.22/24แข็งค่าตามยูโร


ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 29.22/24 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าตามยูโร คาดวันนี้(จันทร์ที่ 25 มี.ค. 2556)เคลื่อนไหวในกรอบ 29.20-29.35 บาท/ดอลลาร์

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในวันนี้ (จันทร์ที่ 25 มี.ค.56) ว่า เปิดตลาดที่ระดับ 29.22/24 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเย็นวันศุกร์(22 มีนาคม 2556)ที่ระดับ 29.29/31 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันค่าเงินยูโร

ลุ้นสัปดาห์หน้า บาทแข็งเกิน29บาทต่อดอลลาร์


ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาด สัปดาห์หน้าค่าบาทเคลื่อนไหวที่ 29.00-29.40 บาทต่อดอลลาร์ แนะจับตาสัญญาณการชะลอตัวของกระแสเงินทุนไหลเข้า

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี ก่อนลดช่วงบวกลงปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังทะลุผ่านระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 29.50 และได้เข้าทดสอบแนวต้านใกล้ 29.10 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงกลางสัปดาห์ ท่ามกลางแรงหนุนจากกระแสเงินทุนไหลเข้า และคำสั่งขายเงินดอลลาร์ ที่มาจากหลายด้าน ขณะที่ ทางการไทยยังไม่ส่งสัญญาณใช้มาตรการดูแลค่าเงินบาท แต่กระนั้นเงินบาทได้ลดช่วงบวกลงในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับการชะลอตัวของเงินทุนไหลเข้า และแรงขายอย่างหนักในตลาดหุ้นไทย ในวันศุกร์ (22 มี.ค.56) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.29 เทียบกับระดับ 29.52 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (15 มี.ค.56)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิด4ทางเลือกป้องบาท ลดผลกระทบศก.


กสิกรไทยเปิด 4 ทางเลือกป้องบาท! ลดผลกระทบเศรษฐกิจ หลังวันนี้แข็งโป๊กในรอบ 16 ปี บอกทุก 1% สะเทือนจีดีพี 0.1-0.3%

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงาน สถานการณ์เงินบาทแข็งค่าปี 2556 … ประเมินทางเลือกของเครื่องมือ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างรวดเร็วทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี และสะท้อนภาพการแข็งค่าที่ฉีกตัวออกจากทิศทางในภาพรวมของสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย

การดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทด้วยเครื่องมือต่างๆ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทางการไทยคงต้องจัดลำดับความสำคัญของโจทย์เศรษฐกิจที่ต้องดูแล และเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ระดับเฉลี่ยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุกๆ 1% จะมีผลกระทบต่อจีดีพีปี 2556 ราว 0.1-0.3%


Page 4 of 512345