ราคาทองร่วงหนัก หลังจากได้รับแรงกดดันจากการดีดตัวขึ้นของตลาดหุ้นนิวยอร์กและการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ขานรับตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.ของสหรัฐที่ออกมาแข็งแกร่งเกินคาด ในประเทศประกาศราคาวันเสาร์ลง 50 บาท ทองรูปพรรณขาย 20,200 ต่ำสุดรอบ 8 เดือน
ราคาทองตามประกาศสมาคมค้าทองคำ
96.5% | รับซื้อ | ขายออก |
---|---|---|
ทองคำแท่ง | 50,450.00 | 50,550.00 |
ทองรูปพรรณ | 49,542.88 | 51,350.00 |
วันนี้ 100 | 100 | |
17 พฤษภาคม 2568 | เวลา 09:07 น. | (ครั้งที่ 1) |
ข่าวแนวโน้มราคาทอง
พุธเช้าราคาทองฟื้นตัวขึ้น เนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ นอกจากนี้มีแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ภายหลังจากสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีกลับมาตึงเครียดอีกครั้งจากที่เกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีปเมื่อวานนี้
ราคาทองคำร่วงลงแรงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 8 สัปดาห์ เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ประกอบกับ การพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งของตลาดหุ้นสหรัฐ ในประเทศเงินบาทยังแข็งค่ากดดันทองคำในประเทศร่วงหนัก 200 บาท
ราคาทองคำเช้าวันจันทร์ต้นเดือนกรกฎาคมปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่ธนาคารกลางหลายแห่งที่ส่งสัญญาณยุตินโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ในประเทศเงินบาทแข็งร่วมกดดัน
นักลงทุนต่างลดการถือครองทองคำลงและส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลดลง เนื่องจากมีแรงจูงใจจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐและยุโรปปรับตัวเพิ่มขึ้น ภายหลังจากที่ธนาคารกลางหลายแห่งส่งสัญญาณยกเลิกมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน
ราคาทองดีดตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ เนื่องจากได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าลงของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้รายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาซบเซาของสหรัฐและความเห็นของประธานเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยบวกต่อการดีดตัวขึ้นของทองคำ
ราคาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยมีปัจจัยหนุนจากแรงซื้อทองคำในฐานะเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เนื่องมาจากตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลงติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ภายหลังจากราคาน้ำมันดิบลดลงแตะต่ำสุดรอบ 10 เดือน ในประเทศเปิดตลาดคงที่เป็นวันที่ 2
เช้าวันพุธราคาทองขยับขึ้นเล็กน้อยโดยภาพรวมยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบ 1,242-1,246 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ยังมีปัจจัยลบกดดันภายหลังการแสดงความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ในเชิงสนับสนุนให้เฟดเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป